วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วันที่ 28 สิงหาคม 2554 บริการแนะนำ บทบาทของห้องสมุด Web 2.0 - Lib 2.0

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ 
ในวันที่ 28 สิงหาคม 2554
 บริการแนะนำ บทบาทของห้องสมุด Web 2.0 - Lib 2.0

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันที่ 21 สิงหาคม 2554 บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน (Inter Library Loan - ILL)

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ 
ในวันที่ 21 สิงหาคม 2554
บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน (Inter Library Loan - ILL)

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้จากการสัมมนา วันที่ 24 กรกฎาคม 2554 เรื่องการบริการรูปแบบใหม่

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา วันที่ 24 กรกฎาคม 2554 เรื่องการบริการรูปแบบใหม่

อาจารย์บุญเลิศ  อรุณพิบูลย์ หัวหน้างาน งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

เป็นการอบรมโดยการลองทำโปรแกรมต่างๆที่ใช้ในการบริการรูปแบบใหม่โดยเริ่มแรกเข้าเว็บ
ดาวน์โหลด Mercury z39.50 cliemts

ให้มองภาพว่า mercury z39.50 clients 8 คือ catalogue module ของระบบ innopac 
ในห้องสมุด มช. ดังนั้นหากต้องหารลงรายการบรรณานุกรมหนังสือ
ประเด็นน่าสนใจของ z39.50
1.ระบบห้องสมุดที่จัดหา/จัดวื้อ พัฒนา ไม่มีโมดูล z39.50
2.ระบบห้องสมุดที่ใช้อยู่มีดมดูล z39.50 แต่ห้องสมุดไม่ทราบ ทั้งการเปิดการใช้งาน การใช้งาน
3.ห้องสมุด/บรรณารักษ์ ไม่รู้จัก z39.50 มาก่อน
4.หนังสือส่วนมากของห้องสมุดดเป็นภาษาไทย ซึ่งระบบห้องสมุดที่เปิดข้อมูลที่เปิดโมดูล z39.50 
ของประเทศไทย มีน้อย หรือ ไม่เปิดระบบให้บริการ

z39.88 , OAI-PHM, Embeded Metadata
กับแลกเปลี่ยนรายการบรรณานุกรมจากหนังสือ/ทรัพยากร สู่ Application

การพัฒนาเว็บแยก 2 กรณี 
1.ทำมือ... สร้างหน้า .php, .html, .htm
2.พัฒนาด้วย s/w เช่น CMS - Joomal , Drupal

ตัวอย่างทำหน้าเว็บแนะนำภาควิชา 1 หน้า จะได้ไฟล์ about.html
พิมพ์เนื้อหาแนะนำภาค 4 พารากราฟ
มีรูปภาพ .jpg ประกอบ 3 ภาพ
มีลิงก์ให้ดาวน์โหลดไฟล์แนะนำภาค 2 ไฟล์
.ppt
.pdf

เว็บที่ทำต้องให้ Google Search Engine เก็บข้อมูลได้ ไฟล์ประกอบการทำเว็บมีกี่ไฟล์
1 html
3 jpg
1 ppt
1 pdf

ทุกไฟล์ต้องฝัง Metadata ที่จำเป็น
// 1 html ฝัง Web Meta Tag 
----------------เป็นการเขียน / ใส่ code เอง 
 ---- < meta name = "keywords" content = "คำค้น" />
 ----< meta name = "authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
 ----< meta name = "description" content = "คำอธิบาย" />

// 3 jpg ฝัง IPTC
// 1 ppt ฝัง Document Metadata
------powerpoint ---> start ----> prepare ---> properties ---> ลงรายการ catalog ทั้งหมด
// 1 pdf ฝัง PDF Metadata
-----Adobe Acrobat Professional ----> file ---> properties 

แล้วแต่ละชุด metadata จะลงรายกสรอย่างไร ( มาตรฐานลงรายการ )

ขยายทุกไฟล์ โดยเฉพาะ .html ให้รองรับมาตรฐาน Z39.5 ผ่าน Z39.88

< meta name = "keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "description" content = "คำอธิบาย" />
------- Web Meta Tag ให้ข้อมูลกับ Search Engine

< meta name = "DC.title" content = "คำค้น" />
< meta name = "DC.authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "DC.description" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "DC.keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "DC.cretedata" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
--------DC Meta Tag ให้ข้อมูลบรรณานุกรมกับ Apps เช่น Reference 
            Manager ( EndNotes, Zotero, JabRef, Refwork ..)  ผ่านมาตรฐาน Z39.88
< meta name = "Citation_title" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_description" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_Keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_Createdate" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_PublishDate" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_pdf_url" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_jourjal_title" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_Volume" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_issue" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_firstpage" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_lastpage" content = "คำอธิบาย" />
-------------Citation Meta Tag เป็นชุดใหม่เพื่อให้ข้อมูลบรรณานุกรมเชิงผลงาน
วิชาการกับ Gpoogle Scholar

การเกิดของ Citation Meta Tag เพราะปัญหาจาก OAI-PHM ที่ทำได้ยาก

การเพิ่ม Webometric Ranking 
Size
Visibility
Rich Files
Scholar
ซอฟต์แวร์พัฒนา IR
eprints
Dspace
MediaTUMS
Omeka

Drupal คือ

            ดรูปาล (Drupal) เป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บ (Content Management System) แบบโอเพนซอร์ส เริ่มต้นพัฒนาโดย Dries Buytaert ในภายหลังดรูปาลมีจุดเด่นในเรื่องสถาปัตยกรรมภายในที่ยืดหยุ่น ชื่อ Drupal นั้นเป็นการสะกดภาษาดัทช์คำว่า ?druppel? ด้วยภาษาอังกฤษ ความหมายของ ?druppel? นั้นแปลว่า ?drop? (หยดน้ำ) ซึ่งมีที่มาจากเว็บไซต์แรกที่ใช้ Drupal คือ drop.org 

ความง่ายการใช้งาน
Drupal มีโครงสร้างโปรแกรมที่ต่างจาก CMS อื่น ๆ ผู้จัดการบริหารระบบไม่มี User Interface แยกออกไปต่างหากดังเช่น CMS โปรแกรมอื่น ๆ แต่ User Interafce ของ Drupal จะถูกเปลี่ยนแปลงไปตามสิทธิ์ของผู้ใช้ Drupal มีระบบบริหารและกำหนดสิทธิสมาชิกที่ดีมาก มีความยืดหยุ่นสูง แม้ว่าตอนแรกๆ อาจจะสับสนกับการใช้งานบ้าง แต่เมื่อเข้าใจระบบแล้ว จะรู้สึกว่าใช้งานได้ง่ายและสะดวกมาก นอกจากนี้ Drupal ยังมีรูปแบบการแสดงผลที่ค่อนไปทาง Blog สมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างจาก CMS โปรแกรมอื่น ๆ ที่ยังคงมีรูปแบบการแสดงผลเชิงข่าวอยู่ ดังนั้นความแรงของกระแสบลอคจึงมีส่วนผลักดันความนิยมในตัว Drupal


สิ่งที่ได้จากการสัมมนา วันที่ 23 กรกฎาคม 2554 เรื่องการบริการรูปแบบใหม่

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา วันที่ 23 กรกฎาคม 2554 เรื่องการบริการรูปแบบใหม่


อาจารย์บุญเลิศ  อรุณพิบูลย์ หัวหน้างาน งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

New services บริการสารสนเทศ รูปแบบใหม่ที่เกี่ยวข้อง

บริการรูปแบบใหม่
Library Ternd : สารสนเทศรูปแบบใหม่ในห้องสมุด
        Trend ที่ 1  Cloud Computing
                        คำนิยาม Cloud Computing ว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ”   Cloud Computing เป็นการทำงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากมายบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเราเพียงแต่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องสนใจว่าทรัพยากรที่ใช้อยู่นั้นมาจากต่างที่ต่างระบบเครือข่าย ทั้งที่อยู่ใกล้ๆ หรือไกลออกไป เป็นการใช้ทรัพยากรภายในเครือข่ายขนาดใหญ่ จึงใช้สัญลักษณ์รูปก้อนเมฆแทนที่ตั้งของทรัพยากรคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีไว้ ให้บริการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่สาม
                      -  Cloud Provider หมายถึงผู้ให้บริการระบบ Cloud นั่นเอง 
                     -  Cloud Storage คือสถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ Cloud
                     Cloud Computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร(http://javaboom.wordpress.com/2008/07/23/whatiscloudcomputing/)
นิยามที่หลากหลาย
                                         ที่มา:http://www.bkk.in.th/Topic.aspx?TopicID=983

 
                                     ที่มา:http://www.esarn.com/it-update-zone

แยกตามกลุ่มผู้ใช้
        Cloud  ระดับองค์กร.......cloud Library
        Cloud  ระดับบุคคล / บริการ เช่น G mail, Facebook, Meebo
        Cloud  ผสม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช้อยู่)
                    Dropbox (www.dropbox.com สามารถโหลด App ลง Iphone or Ipad)

      

แยกตามการให้บริการ
                        - Public cloud คือการให้บริการแบบกลุ่มสาธารณะหรือระดับองค์กร
                         - Pivate cloud คือการให้บริการแบบระดับส่วนบุคคล เช่น Facebook Gmail เป็นต้น
                        - Hybrid Cloud คือการให้บริการแบบ2ทางเลือก หรือแบบผสมทั้งแบบระดับองค์กรและส่วนบุคคล
แยกตามประเภทของเทคโนโลยี
                                                                         - SaaS (Softwere as a Service) เป็นผู้ให้บริการที่ยอมทำซอฟแวร์เหมือนMicrosoft ให้ใช้งานโดย 
                          ไม่ต้องติดตั้งทีละเครื่องๆ เช่น zoho.com, docs.google.com     
                         - IaaS (Infrastructure as a Service)
                         - Paas (PlatForm as a Service)

         Trend ที่ 2 Mobile Device
                           รู้จักผู้ใช้และพฤติกรรมจาก  http://truehits.net  คือเว็บสถิติของประเทศไทย        
                            โรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Device) หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ที่มีขนาดเล็กทำงานได้เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติเด่น คือ ขนาดเล็ก,น้ำหนักเบา, ใช้พลังงานค่อนข้างน้อย, มักใช้ทำหน้าที่ได้หลายอย่าง, ติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกับคอมพิวเตอร์ได้ และที่สำคัญคือ สามารถเพิ่มหน้าที่การทำงานได้ โดยอาศัย Software Mobile จัดแบ่งตาม OS จะได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ Smart Phone, Palm และ Pocket PC
                         Smart Phone : Java, Dabian
                   Tablet : Android
                   eReader : IOS
                   Netbook : Windows
  ที่มา:http://us.generation-nt.com/amazon-kindle-iphone-android-ebook-content-multimedia-news-2319301.html


        Trend ที่ 3 Digital content & Publishing  ebook, IR, Digital Library OJS
   Ebook
ที่มา:http://www.foresceneweb.com/New-York-Web-Design-web-marketing/faq-%E2%80%93-ebook/
               หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: E-book) เป็นหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book reader) ได้
                การทำ E-book ให้มุ่งความสำคัญไปที่ 3 ส่วน คือ
                      1. การได้มาของเนื้อหา
                      2. กระบวนการผลิตและรูปแบบ
                      3. ลิขสิทธิ์ต้นฉบับและการเผยแพร่ (ลิขสิทธิ์ของต้นฉบับ, ลิขสิทธิ์ของ Ebook)      
                รูปแบบ File ของ Ebook ได้แก่
                       .doc
                       .pdf
                       Flip ebook เช่น Flip Album
                       Flash ebook
                       ePublishing (โปสเตอร์, แผ่นพับ อิเล็กทรอนิกส์)
                       .ePub (Sony reader, Kindle, ipad, iphone)
                       Digital multimedia book
                 ตัวอย่าง E Book
                  -  http://ag-ebook.lib.ku.ac.th/ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                  - http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/index.php/home หนังสทอเก่าชาวสยาม
เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้ Flash  e-book  
        มหาวิทยาลัยมหิดลใช้ PDF  e-book  
        วชิรญาณวิเศษใช้ 4 แบบ   -  online Flash e-book     
                                                       -  PDF แบบปกติ
                                                       -  PDF แบบละเอียด
                                                       -  ฉบับข้อความ
                    
        Trend ที่ 4 Crosswalk Metadata
                        Metadataหมายถึงข้อมูลที่ใช้ในการอธิบายรายการและกลุ่มของรายการ มันเป็นข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล มันสามารถใช้เพื่ออธิบายรายการทางกายภาพเช่นเดียวกับรายการดิจิตอล (ไฟล์เอกสาร, ภาพ, ชุด, ฯลฯ ) แคตตาล็อกห้องสมุด, ตัวอย่างเช่นถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลที่อธิบายถึงหนังสือ, วารสารและรายการอื่น ๆ ที่จัดขึ้นโดยห้องสมุด คุณสมบัติของแฟ้มสำหรับเอกสารประมวลผลคำเป็นพื้นฐานการบันทึกข้อมูลเมตา (และไม่สมบูรณ์)
        MARC  
        MARC ML  
        Dublin Core 
        ISAD (g) - มาตรฐานจดหมายเหตุดิจิตอล
        CDWA - เป็น Matadata ที่เกี่ยวข้องกับ พิพิธภัณฑ์
        RDF - Framework รายละเอียดทรัพยากร
        OWL  
        MODs  
        METs 
        PDF Metadata  
        Doc Metadata  
        EXIF
        XMP 
        IPIC 
         
        Trend ที่ 5  Open technology
                          Z 39.5   แลกเปลี่ยนข้อมูลบบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS ( LIS <---> ILS) ห้องสมุดกับห้องสมุด
                          Z 39.88 แลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS <---> Application 
                                         การเพิ่มลำดับเว็บ/จัดลำดับเว็บ Webometric 
                                         OAI _ PMH <------one search
                                         Linked Data
                                         Metadata
                                         Bibliography
เว็บแนะนำ เป็นเว็บสำหรับค้นอย่างเดียว  http://tnrr.in.th/ ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย
                      เว็บดูว่า Database มีที่ไหนบ้าง http://tnrr.in.th/beta 


        Trend ที่ 6 Data&Information Mining/Visualization                          
                          "visual search engine"    
                          http://vadl.cc.gatech.edu/
                          http://labs.ideeinc.com/   
                          http://www.krazydad.com/
                          http://labs.ideeinc.com/multicolour     
                                        

           Trend ที่ 7  Green library  <== Global warming
                           Green Building  คือ อาคารที่ออกแบบ ก่อสร้าง และใช้งานอาคาร ที่คำนึงให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่าที่สุด และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาวะแวดล้อม เช่น ไม่ปล่อยน้ำเสีย ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อ๊อกไซต์
WORLD TRADE CENTER TOWER
อยู่ที่บาเรน ออกแบบโดย Shaun Killa ดูให้ดี กังหันลมสามอันที่ติดตั้งได้ผลิตไฟฟ้าให้อาคารได้ด้วย
 
                           
                           Green  ICT  คือ แนวความคิดในการนำ ICT มาสนับสนุนเพื่อการลดพลังงาน เพื่อการนำกลับมาใช้ เพื่อทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น การจะสำเร็จได้ต้องอยู่ที่ความตระหนัก และการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

Green Library PSA


green-library1

เว็บแนะนำสำหรับGlobal warming
http://thai2english.com/

http://www.biomedexperts.com/Portal.aspx
http://www.researchgate.net/

(Black April ติดตามได้ที่ http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=4517&Itemid=43)

OCLC (Online Computer Library Center)

         OCLC (Online Computer Library Center) เริ่มก่อตั้งขึ้นในรัฐโอไฮโอ ในปี ค.ศ. 1967 เป้นองค์กรนานาชาติไม่แสวงหากำไร โดยความรวมตัวกันของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 54 แห่ง โดยใช้ชื่อว่า Ohio College Library Center  ได้เปิดตัวระบบทำรายการร่วมกันเป็นแบบออนไลน์สำหรับห้องสมุด (Online Shared Cataloging System for Libraies) ได้รับการเปิดตัวในปี ค.ศ. 1979 และตั้งแต่นั้นมามีห้องสมุดร่วมใช้บริการประมาณ 6,928 แห่ง จากทั่วโลก ในปีค.ศ. 1981 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Online Computer Library Center ส่วนบริการ FiestSearch ได้รับการแนะนำเป็นฐานข้อมูลเครื่องมืออ้างอิงในปี ค.ศ. 1991
              OCLC เป็น Bibliographic Utilities ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ในปี ค.ศ. 1999  OCLC มีจำนวนระเบียนประมาณ 40 ล้านระเบียน ให้บริการแก่ห้องสมุดที่เป็นสมาชิก มีการเพิ่มระเบียนในฐานข้อมูลทุก 15 วินาที และในปี 2005  Worldcat มีบรรณานุกรม 61 ล้านระเบียน ซึ่งปัจจุบันให้บริการในห้องสมุด 53,546 แห่งใน96 ประเทศ ทั่วโลก
OCLC มีวัตถุประสงค์เพื่อ
            1. สนับสนุนและส่งเสริมการเข้าถึงสารสนเทศจากห้องสมุดต่างๆ ทั่วโลก
            2. สร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรม โดยความร่วมมือของสมาชิก
            3. ส่งเสริมและสนับสนุนการทำรายการและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
            4. ลดค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงสารสนเทศ
สืบค้นมาจาก http://www.kcn.ac.th/weblibrary/WEB/WebLibrary/OCLC.pdf วันที่ 28 กรกฎาคม 2554 เวลา 04.55 น.

วันที่ 17 กรกฎาคม 2554 บริการสอนการใช้ (Instructional Service)

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ

ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2554
เรื่องบริการสอนการใช้ ( Instructional Service) 
               
ภาพการสอนการใช้
        ที่มา: http://library.eng.cmu.ac.th/lib2009/

         บริการสอนการใช้ห้องสมุด เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญของบรรณารักษ์ ที่จะต้องสอนให้ผู้ใช้ห้องสมุดให้รู้จักใช้ห้องสมุดได้ด้วยตนเองหรือสร้างทักษะการรู้สารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ คือให้ผู้ใช้ได้รู้จักห้องสมุด ใช้บริการต่างๆ ของห้องสมุด ใช้หนังสืออ้างอิง ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยต่างๆ  ที่ห้องสมุดจัดหาไว้บริการให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศมีความรู้ความสามารถและทักษะของแต่ละบุคคลในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ ประเมินทัพยากรสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพหรือให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด หรือทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นการช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง

งานบริการอ้างอิง และสารสนเทศ 
  1. บริการสารสนเทศ (Information service) ตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการยืมระหว่างห้องสมุด จัดส่งเอกสาร ข่าวสารทันสมัย
  2. บริการสอนการใช้ (Instruction service) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)
  3. บริการแนะนำ (Guidance services) มีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่แตกต่างกันที่เน้นการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง มากกว่าสอนการใช้
สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กำหนดไว้ คือ
          หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภทคือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัด     การสารสนเทศ...การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ

ปรัชญาการบริการ
           ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning
                -  Library Literacy
                -  Information Literacy
                -  Bibliographic Instruction (BI): Instructional programs designed    to teach library users Synonymous with
  •              library instruction
  •              library orientation

                User Instruction
                      วิธีการสอน
                                                Informal Instruction อย่างไม่เป็นทางการ
                                                Formal Instruction   เป็นทางการ

พัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 
            1.        การเพิ่มขึ้นของสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในสังคมอย่างกว้างขวาง
·       รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้สารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศ  
·       ทำให้บุคคลต้องเผชิญกับทางเลือกสารสนเทศที่หลากหลาย และมากมาย  
                   2.   จึงมีความจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับประเมิน เลือก และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลง และ เพิ่มทักษะใหม่ เช่น 
·       ทักษะในการแสวงหา 
·       การเข้าถึง สารสนเทศ 

เทคโนโลยีทางด้านการรู้สารสนเทศ        
                 Amazon Kindle
·                                       ·  Kindle
·                                       · Kindle 2
              ·Kindle DX    9.7 inches          

                                            ที่มา:http://www.mrpalm.com/board/view_board.php?id=112271


Apple I pod, I pad, I phone 

ความสำคัญ การรู้สารสนเทศ
          การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้

  1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ
  2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น
  3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น
  4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ
การปฎิรูปการศึกษา
        -  สังคมที่พึงปราถนาก็ไม่ใช่เป็นเพียงสังคมข่าวสารแต่ต้องเป็น  สังคมแห่งการเรียนรู้ การพัฒนา คน” ให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้น
        -  การสอนที่เน้นการท่องจำเนื้อหา ตามที่ครูบอก  สอบวัดผลที่เน้นความรู้ความจำ
        -  ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด (Self  Learning)  วิเคราะห์  การแสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง 
        -  โรงเรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงสภาพเป็น ศูนย์การเรียนรู้ (Learning  Center)  กล่าวคือ    โรงเรียนจะต้องจัดให้มีสื่อ และรูปแบบการเรียนที่หลากหลาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดโรงเรียนที่ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญในระดับต้นๆ
UNESCO (2008) -Information Literacy
                   ความสามารถของปัจเจกชนในการ
                   ตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศของตนเอง
                   รู้ถึงวิธีการในการสืบค้นเพื่อหาข้อมูล/สารสนเทศที่ต้องการรวมถึงต้องสามารถประเมินคุณภาพของ สารสนเทศทีสามารถหามาได้
                   รู้จักวิธีการจัดเก็บและเรียกข้อมูล/สารสนเทศมาใช้เมื่อต้องการ
                   สามารถใช้ข้อมูล/สารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลและมีจริยธรรม
                   สามารถประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อสร้างและสื่อสารความรู้
การส่งเสริมการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา
                การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเริ่มดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้น และต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา (Bruce, 2002) และความร่วมมือระหว่างครู อาจารย์ และบรรณารักษ์ จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะเป็นผู้รู้สารสนเทศได้อย่างดีนั้นจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน และการตระเตรียมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา 


สิ่งที่นโยบาย ICT 2020 ให้ความสำคัญ 2554 – 2563
          สร้างการมีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นBroadband Internet โดยเร็วโดยในการใช้ประโยชน์ให้คานึงถึง/ให้ความสาคัญกับบริการบนMobile device
          สร้างทรัพยากรมนุษย์ของประเทศที่มีICT Literacy, Information Literacy และMedia Literacy มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต(ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ) เพื่อเป็นกาลังสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจฐานบริการและฐานความคิดสร้างสรรค์
          การส่งเสริมนวัตกรรมการบริกา(Innovation in Services) โดยการบูรณาการICT ในการบวนการคิดออกแบบพัฒนาสินค้าและบริการทั้งที่เป็นค้าและบริการใหม่ๆและสินค้าและบริการดั้งเดิมที่ไทยมีศักยภาพเพื่อการก้าวสู่เศรษฐกิจฐานบริการและฐานความคิดสร้างสรรค์

ICT 2020     2554 – 2563
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กำหนดทักษะที่ 3 ประการในแผนพัฒนาทุนมนุษย์ คือ
1.       ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT literacy)
2.       การรอบรู้ การเข้าถึง และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ หรือมีทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) ร้อยละ75   Literacy = 100
3.       การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy)
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.25542563 (ICT 2020)
          ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน จะทำให้สังคมมีภูมิคุ้มกันผลกระทบทางลบ อันเกิดจากการใช้ ICT ไปในทางที่ไม่เหมาะสม และมีเป้าหมายให้ประชากรอย่างน้อยร้อยละ 75 และ 50 มีความรู้สามารถเข้าถึงสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ได้อย่างมีวิจารณญาณ และรู้เท่าทัน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน ในระดับมาตรฐานสากล ตามลำดับ   

ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีทักษะทางด้านสารสนเทศ ประกอบด้วย

  1. มีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
  2. มีความสามารถและรู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
  3.  มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานะเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาญ
  4.  มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศกล่าวคือสามารถในการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ
  5. มีความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์ การรู้เทคโนโลยีและการสื่อสาร
American Library Association (ALA) ได้กำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศ ไว้ 9 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความสามารถที่จะเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มาตรฐานที่ 2 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีวิจารณญาณในการประเมินสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 3 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องใช้สารสนเทศอย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 4 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศและติดตามสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของตนเอง
มาตรฐานที่ 5 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ ด้วยการนำวรรณกรรมและสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ด้านอื่นๆ ด้วย
มาตรฐานที่ 6 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ และไขว่คว้าเพื่อให้เกิดความสามารถในการค้นคืนสารสนเทศและสร้างความรู้
มาตรฐานที่ 7 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และสังคมการเรียนรู้สารสนเทศ  จะต้องยอมรับถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมระบอบประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 8 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และ สังคมการเรียนรู้สารสนเทศ จะต้องฝึกปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมที่มีมารยาท  และจรรยาบรรณเกี่ยวกับสารสนเทศ   และเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 9 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้  และสังคมการรู้สารสนเทศ  จะต้องมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่มีการติดตาม  และสร้าง  สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิผล


ลักษณะการจัดบริการ
     จัดบริการ 2 ลักษณะ คือ
1.       บริการเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)
        Informal /Point of use Instruction
2.       บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)
        Formal Instruction        
·       Library Tour/Orientation
·       Classroom Presentation