วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันที่ 17 กรกฎาคม 2554 บริการสอนการใช้ (Instructional Service)

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ

ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2554
เรื่องบริการสอนการใช้ ( Instructional Service) 
               
ภาพการสอนการใช้
        ที่มา: http://library.eng.cmu.ac.th/lib2009/

         บริการสอนการใช้ห้องสมุด เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญของบรรณารักษ์ ที่จะต้องสอนให้ผู้ใช้ห้องสมุดให้รู้จักใช้ห้องสมุดได้ด้วยตนเองหรือสร้างทักษะการรู้สารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ คือให้ผู้ใช้ได้รู้จักห้องสมุด ใช้บริการต่างๆ ของห้องสมุด ใช้หนังสืออ้างอิง ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยต่างๆ  ที่ห้องสมุดจัดหาไว้บริการให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศมีความรู้ความสามารถและทักษะของแต่ละบุคคลในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ ประเมินทัพยากรสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพหรือให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด หรือทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นการช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง

งานบริการอ้างอิง และสารสนเทศ 
  1. บริการสารสนเทศ (Information service) ตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการยืมระหว่างห้องสมุด จัดส่งเอกสาร ข่าวสารทันสมัย
  2. บริการสอนการใช้ (Instruction service) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)
  3. บริการแนะนำ (Guidance services) มีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่แตกต่างกันที่เน้นการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง มากกว่าสอนการใช้
สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กำหนดไว้ คือ
          หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภทคือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัด     การสารสนเทศ...การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ

ปรัชญาการบริการ
           ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning
                -  Library Literacy
                -  Information Literacy
                -  Bibliographic Instruction (BI): Instructional programs designed    to teach library users Synonymous with
  •              library instruction
  •              library orientation

                User Instruction
                      วิธีการสอน
                                                Informal Instruction อย่างไม่เป็นทางการ
                                                Formal Instruction   เป็นทางการ

พัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 
            1.        การเพิ่มขึ้นของสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในสังคมอย่างกว้างขวาง
·       รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้สารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศ  
·       ทำให้บุคคลต้องเผชิญกับทางเลือกสารสนเทศที่หลากหลาย และมากมาย  
                   2.   จึงมีความจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับประเมิน เลือก และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลง และ เพิ่มทักษะใหม่ เช่น 
·       ทักษะในการแสวงหา 
·       การเข้าถึง สารสนเทศ 

เทคโนโลยีทางด้านการรู้สารสนเทศ        
                 Amazon Kindle
·                                       ·  Kindle
·                                       · Kindle 2
              ·Kindle DX    9.7 inches          

                                            ที่มา:http://www.mrpalm.com/board/view_board.php?id=112271


Apple I pod, I pad, I phone 

ความสำคัญ การรู้สารสนเทศ
          การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้

  1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ
  2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น
  3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น
  4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ
การปฎิรูปการศึกษา
        -  สังคมที่พึงปราถนาก็ไม่ใช่เป็นเพียงสังคมข่าวสารแต่ต้องเป็น  สังคมแห่งการเรียนรู้ การพัฒนา คน” ให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้น
        -  การสอนที่เน้นการท่องจำเนื้อหา ตามที่ครูบอก  สอบวัดผลที่เน้นความรู้ความจำ
        -  ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด (Self  Learning)  วิเคราะห์  การแสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง 
        -  โรงเรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงสภาพเป็น ศูนย์การเรียนรู้ (Learning  Center)  กล่าวคือ    โรงเรียนจะต้องจัดให้มีสื่อ และรูปแบบการเรียนที่หลากหลาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดโรงเรียนที่ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญในระดับต้นๆ
UNESCO (2008) -Information Literacy
                   ความสามารถของปัจเจกชนในการ
                   ตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศของตนเอง
                   รู้ถึงวิธีการในการสืบค้นเพื่อหาข้อมูล/สารสนเทศที่ต้องการรวมถึงต้องสามารถประเมินคุณภาพของ สารสนเทศทีสามารถหามาได้
                   รู้จักวิธีการจัดเก็บและเรียกข้อมูล/สารสนเทศมาใช้เมื่อต้องการ
                   สามารถใช้ข้อมูล/สารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลและมีจริยธรรม
                   สามารถประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อสร้างและสื่อสารความรู้
การส่งเสริมการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา
                การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเริ่มดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้น และต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา (Bruce, 2002) และความร่วมมือระหว่างครู อาจารย์ และบรรณารักษ์ จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะเป็นผู้รู้สารสนเทศได้อย่างดีนั้นจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน และการตระเตรียมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา 


สิ่งที่นโยบาย ICT 2020 ให้ความสำคัญ 2554 – 2563
          สร้างการมีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นBroadband Internet โดยเร็วโดยในการใช้ประโยชน์ให้คานึงถึง/ให้ความสาคัญกับบริการบนMobile device
          สร้างทรัพยากรมนุษย์ของประเทศที่มีICT Literacy, Information Literacy และMedia Literacy มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต(ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ) เพื่อเป็นกาลังสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจฐานบริการและฐานความคิดสร้างสรรค์
          การส่งเสริมนวัตกรรมการบริกา(Innovation in Services) โดยการบูรณาการICT ในการบวนการคิดออกแบบพัฒนาสินค้าและบริการทั้งที่เป็นค้าและบริการใหม่ๆและสินค้าและบริการดั้งเดิมที่ไทยมีศักยภาพเพื่อการก้าวสู่เศรษฐกิจฐานบริการและฐานความคิดสร้างสรรค์

ICT 2020     2554 – 2563
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กำหนดทักษะที่ 3 ประการในแผนพัฒนาทุนมนุษย์ คือ
1.       ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT literacy)
2.       การรอบรู้ การเข้าถึง และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ หรือมีทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) ร้อยละ75   Literacy = 100
3.       การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy)
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.25542563 (ICT 2020)
          ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน จะทำให้สังคมมีภูมิคุ้มกันผลกระทบทางลบ อันเกิดจากการใช้ ICT ไปในทางที่ไม่เหมาะสม และมีเป้าหมายให้ประชากรอย่างน้อยร้อยละ 75 และ 50 มีความรู้สามารถเข้าถึงสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ได้อย่างมีวิจารณญาณ และรู้เท่าทัน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน ในระดับมาตรฐานสากล ตามลำดับ   

ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีทักษะทางด้านสารสนเทศ ประกอบด้วย

  1. มีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
  2. มีความสามารถและรู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
  3.  มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานะเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาญ
  4.  มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศกล่าวคือสามารถในการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ
  5. มีความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์ การรู้เทคโนโลยีและการสื่อสาร
American Library Association (ALA) ได้กำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศ ไว้ 9 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความสามารถที่จะเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มาตรฐานที่ 2 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีวิจารณญาณในการประเมินสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 3 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องใช้สารสนเทศอย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 4 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศและติดตามสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของตนเอง
มาตรฐานที่ 5 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ ด้วยการนำวรรณกรรมและสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ด้านอื่นๆ ด้วย
มาตรฐานที่ 6 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ และไขว่คว้าเพื่อให้เกิดความสามารถในการค้นคืนสารสนเทศและสร้างความรู้
มาตรฐานที่ 7 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และสังคมการเรียนรู้สารสนเทศ  จะต้องยอมรับถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมระบอบประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 8 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และ สังคมการเรียนรู้สารสนเทศ จะต้องฝึกปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมที่มีมารยาท  และจรรยาบรรณเกี่ยวกับสารสนเทศ   และเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 9 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้  และสังคมการรู้สารสนเทศ  จะต้องมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่มีการติดตาม  และสร้าง  สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิผล


ลักษณะการจัดบริการ
     จัดบริการ 2 ลักษณะ คือ
1.       บริการเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)
        Informal /Point of use Instruction
2.       บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)
        Formal Instruction        
·       Library Tour/Orientation
·       Classroom Presentation








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น