สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ
ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554
เรื่องการบริการ ( Inquiry Service)
โต๊ะให้บริการตอบคำถาม |
เป็นบริการช่วยผู้ใช้ในการค้นหาคำตอบที่ต้องการ ซึ่งผู้ใช้อาจสอบถามด้วยตนเอง ที่โต๊ะบริการตอบคำถาม สอบถามทางโทรศัพท์ การให้บริการตอบจะมีลักษณะแตกต่างออกไปตามประเด็นปัญหาของผู้ใช้ ลักษณะของคำถามอาจเป็นคำถามทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด เช่น คำถามเกี่ยวกับแหล่งจัดเก็บและบริการหนังสือ วารสาร วัสดุไม่ตีพิมพ์ ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือ สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น หรืออาจเป็นคำถามที่ต้องใช้หนังสือ หรือหลักฐานอ้างอิงในการค้นหาคำตอบ หรืออาจเป็นเรื่องของการแนะนำหนังสือ วารสาร วัสดุสารสนเทศอื่นๆ ให้เลือกอ่านตามความสนใจ
บริการสารสนเทศ
1. บริการตอบคำถาม (Replies to Inquiries Services)
2. บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service - ILL)
3. บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service - DD)
4. บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service - CAS)
5. บริการรวบรวมบรรณานุกรม (Bibliographical Services)
6. บริการค้นสารสนเทศออนไลน์ (Online Information Retrieval Services)
7. บริการชี้แนะแหล่งข้อมูล (Referral Service หรือ Information and Referral Service-I&R)
8. บริการช่วยการวิจัย (Research service) บริการการแปล (Translation Service)
ปรัชญาการบริการ
1. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ
2. ความต้องการสารสนเทศเฉพาะบุคคล
3. ผู้ใช้ได้มาซึ่งสารสนเทศอย่างรวดเร็ว
ความสำคัญของการบริการอ้างอิงและสารสนเทศ
1. ช่วยให้บริการตรงกับความต้องการของผู้ใช้
2. สนับสนุนการใช้ห้องสมุด
3. ประหยัดเวลาในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง
4. ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดและผู้ใช้
วิธี(ระดับ)การบริการ
1. ห้องสมุดเฉพาะ ตอบคำถามอย่างรวดเร็ว (ได้สารสนเทศที่ต้องการ)
2. ห้องสมุดโรงเรียน สอนการใช้
3. ห้องสมุดประชาชน ช่วยหาสารสนเทศที่ต้องการ พัฒนาทักษะการสืบค้น
4. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ตอบคำถามอย่างรวดเร็ว ช่วยค้นสารสนเทศที่ต้องการ สอนการใช้ห้องสมุด (ทักษะการสืบค้น)
ประเภทคำถามอ้างอิง
1. คำถามโดยตรงหรือข้อแนะนำ (Directional Question)
2. คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริง (Ready Reference Question)
3. คำถามที่ต้องการค้นคว้าข้อเท็จจริง (Specific search Question)
4. คำถามที่ต้องอาศัยการค้นคว้าวิจัย (Research Question)
การให้บริการตอบคำถามนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. บริการโดยตรง (Direct reference services) บริการที่บรรณารักษ์ออกไปบริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้ โดยตรง รวมถึงการให้บริการสอนการใช้ในห้องสมุด
2. บริการทางอ้อม (Indirect reference services) งานที่บรรณารักษ์เตรียมดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริการ เช่น การเลือกและการจัดหา การบริหารและจัดดำเนินการ การจัดหาวิธีทาง การประชาสัมพันธ์ การประเมินผล งานประจำเพื่อช่วยการทำงาน และงานดูแลรักษา เช่น บันทึกคำถาม
ความแตกต่างของบริการตอบคำถาม (Inquiry service) แบบเดิมและแบบใหม่
แบบเดิม
• บริการที่โต๊ะบริการ
• บริการทางจดหมาย
• บริการทางโทรศัพท์
• บริการทางโทรสาร
แบบใหม่
บริการการอ้างอิงที่นำเสนอทางออนไลน์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า (ดิจิตอลอ้างอิงบริการอ้างอิงเสมือนจริง)
New reference service models
บริการสมัยใหม่ที่ได้มีการนำมาปรับใช้ในการให้บริการห้องสมุด คือ
1. บริการอีเมล์ ( E-mail ), Web form
2. บริการ Chat
- Basic chat- IM, Voice Over IP, Skype, Video Conference
- Web call center
3. ความร่วมมือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น