วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันที่ 26 มิถุนายน - บริการยืม-คืน/จ่าย-รับ (Circulation Service)

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ 

ในวันที่ 26 มิถุนายน 2554

ที่มารูปภาพ: หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ 

ในวันที่ 26 มิถุนายน 2554

บริการยืม - คืน/จ่าย - รับ ( Circulation Service )
(OA=Open Access คือ การเข้าถึงแบบเปิด)
เป้าหมายหลัก
เป้าหมายหลัก
                -  การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
                    หลักการก็คือรังกานาธาน (ปกิณกะ:รังกานาธานและปรัชญาวิชาชีพบรรณารักษ์)
           1.  หนังสือมีไว้ใช้ประโยชน์ (Books are for use) หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดจะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่ว่าจะ 
                เป็นการให้ความรู้ ความคิด ความจรรโลงใจ หรือความบันเทิง                                     
  2.  ผู้อ่านแต่ละคนมีหนังสือที่ตนจะอ่าน (Every reader his book) ห้องสมุดจะต้องพยายามจัดหาหนังสือ ให้ตรง     กับความต้องการของผู้ใช้บริการ
   3.  หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน (Every books its reader) ห้องสมุดจะต้องพยาามช่วยให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดได้มีผู้อ่านเพื่อให้เกิดประโยขน์สูงสุด
  4.  ประหยัดเวลาของผู้อ่าน (Save the time of the reader) พยายามหาวิธีต่างๆ ที่จะช่วยผู็ใช้พบกับหนังสือเล่มที่  ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
  5.  ห้องสมุดเป็นสิ่งเจริญเติบโตได้(Library is Growing organism) หรือห้องสมุดเป็นสิ่งมีชีวิต ห้องสมุดจะต้องพยายามจัดหาหนังสือและวัสดุเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ
http://www.gotoknow.org/blog/library-librarian/256597  30 มิถุนายน 2554
นำไปศึกษาค้นคว้านอกสถานที่ได้
ปรัชญาของการบริการ ยืม คืน
        -  ให้ความเท่าเทียมกันและเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด (Guarantee equal and fair to the library collection) คือเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงในสิ่ง ที่ตัวเองต้องการโดยทั่วกันได้ เช่นบริการจอง บริการหนังสือสำรอง บริการยืมต่อ รวมไปถึงค่าปรับด้วย
                -  กำหนดนโยบายและระเบียบโดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด (Therefore, libraries determine circulation policies and routines with the goal providing maximum access to the materials) ให้คนสามารถเข้าถึงทรั พยากรสารสนเทศให้มากที่สุด ขั้นตอนวิธีการ การดำเนนินงานต่างๆ บรรณารักษ์ต้องคอยติดตามความรู้ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อทำให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศมากขึ้น
บทบาทหน้าที่ของบริการยืม คืน
                 ควบคุมการยืม – คืน  เป็นบริการพื้นฐานที่ต้องมีในห้องสมุดสมัยใหม่ สืบเนื่องมาจากภารกิจของห้องสมุดรวมทั้งเป้าหมายขององค์กร สิทธิความเท่าเทียม และตอบสนองความต้องการสารสนเทศได้ (Librarians access: We provide timely, convenience, equal access to materials   )
                การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด คือ จุดแรกที่มองเห็น การมาติดต่ออย่างมากในห้องสมุด ความประทับใจ การให้ความช่วยเหลือ และการบริการที่ได้รับจึงมีผลกระทบต่อผู้มาใช้บริการ ซึ่งบริการนี้อาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการห้องสมุด (Its role in influencing the user opinion regarding the quality of the library service)
กระประชาสัมพันธ์
                -  จุดที่มีการบริการทั้งหมด ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ (Almost every transaction a library is an act of customer  relations)
                -  ผู้ใช้คาดหวังกับเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในทุกๆเรื่อง (Patrons expect library  staff to knew everything)
สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่พอใจ
                -  ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการได้
                -  ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดการส่ง หรือแจ้งเตือนการส่งเข้า
                -  ระยะเวลาในการยืมสั้น
                -  การจำกัดครั้งในการยืม
                -  ค่าปรับ
                -  เสียงรบกวน
                -  ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษณ์
                -  ร้อนหรือเย็นเกินไป
                -  เครื่องสำเนาเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ใช้งานไม่ได้
                -  กลิ่นไม่พึงประสงค์ กลิ่นอับชื้นเช่น เชื้อราจากหนังสือ พรมที่อับชื้น
การจัดการระบบห้องสมุด
                -  ห้องสมุดขนาดเล็ก บรรณารักษ์ทำหน้าที่ดูแลงานเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบาย ขั้นตอนการดำเนินงาน กฎระเบียบ และแนะนำดูแลการทำงานเจ้าหน้าที่ 
                -  ห้องสมุดขนาดใหญ่ มีหัวหน้าแผนกดูแลบรรณารักษณ์ โดยบรรณารักษ์ดูแลงานด้านการจัดการ
                -  ห้องสมุดขนาดใหญ่มาก จะมีหัวหน้าดูแลภายใต้การควบคุมของผู้ช่วยบรรณารักษ์และหัวหน้าบรรณารักษ์ที่ทำหน้าที่ดูแล
ความรู้และทักษะที่ต้องการ
                -  มีใจรักในงานบริการ มีความอดทนสูง
                -  มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ
                -  มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล OPAC
                -  มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
                -  มีมนุษยสัมพันธ์ดี
เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในงานบริการยืม-คืน
1.เทคโนโลยีรหัสแถบ ( Bar code )
                เป็นการกำหนดรหัสในรูปแบบสีขาวและสีดำ ที่มีความแตกต่างด้านความกว้างแทนตัวเลขและตัวอักษร
Barcode Label

                ที่มา http://www.tigerrlabel.com/rolls/bar_product_1.php

2. คิวอาร์โค้ด (QR code,2D Bar code)
     
            เป็นเทคโนโลยีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างรหัสบาร์โค้ด และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี สำหรับใช้ในการยืม-คืนหนังสือ โดยการนำมาใช้ต้องจัดทำบาร์โค้ด 2 มิติ 2 ดวง มีลักษณะเด่นที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการผลิต เพราะสามารถผลิตจากกระบวนการทำรายการห้องสมุดและพิมพ์ออกมาทำการติดที่ตัวเล่มหนังสือได้ทันที
            ซึ่ง QR code สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4,000 ตัวอักษร บรรจุข้อมูลได้หลากหลายภาษา และในปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ใช้กับการบริการห้องสมุดไว้หลายๆแห่ง เช่น บริการยืม-คืน บริการหนังสือใหม่ การจัดทำข้อมูล CIP ของหนังสือ เป็นต้น อนาคตในการกำหนดบาร์โค้ด 2 มิติ ให้กับสำนักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์หนังสือที่ยืนความจำนงในการขอรับเลข ISBN
QRCODE.JPG

               ที่มา http://wiki.nectec.or.th/bu/ITM532Students_2008/KatReport

3.  เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identify)


           เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ เพื่อระบุอัตลักษณ์ของวัตถุหรือเจ้าของวัตถุที่ติดป้ายอาร์เอฟไอดีแทนการระบุด้วยวิธีอื่น จุดเด่นของอาร์เอฟไอดี สามารถอ่านข้อมูลจากแท็กได้หลายๆแท็กแบบไม่ต้องมีการสัมผัส ข้อดี สามารถบ่งชี้หรืออ่านข้อมูลได้ โดยวัสดุนั้นไม่ต้องอยู่ในแนวระดับที่มองเห็น ซึ่งอ่านข้อมูลผ่านสิ่งกีดขวางหรือผ่านวัตถุได้รวดเร็วและการอ่านข้อมูลจะอ่านที่อยู่ในรัศมีการอ่านได้ครั้งเดียว ในที่นี้ห้องสมุดแห่งแรกที่ติดตั้งระบบเทคโนโลยี RFID คือ ห้องสมุดของ Rockefeller University in New York ส่วนห้องสมุดประชาชนแห่งแรกที่นำเทคโนโลยี RFID มาใช้ คือ Farmington Community Library ในรัฐมิชิแกน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น