สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ
ในวันที่ 19 มิถุนายน 2554
บริการห้องสมุด
งานห้องสมุด
งานห้องสมุด สามารถจัดแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ งานบริหาร (Administration Function) งานเทคนิค (Technical Function) และงานบริการ (Service Function) ซึ่งงานแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้
1. งานบริหาร (Administration Function)
การกระทำกิจกรรมใดๆ ในงานของห้องสมุดให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ โดยมีการกำหนดนโยบายและควบคุมดูแลการทำงานของห้องสมุด รวมถึงการเลือกหาหนังสือ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาไว้ในห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ดำเนินไปด้วยดี ตามกำลังของงบประมาณที่ได้จัดสรร
2. งานเทคนิค (Technical Function)
การเตรียมงานบริการห้องสมุด มีหน่วยงานหลักๆ คือ หน่วยพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศที่มีการบันทึก และหน่วยงานวิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่ในการจัดระเบียบสารสนเทศเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย งานเทคนิคในห้องสมุดจะประกอบไปด้วย งานจัดหาและพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานควบคุมวารสาร งานวิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายงานทรัพยากรสารสนเทศ และงานซ่อมและเย็บเล่มหนังสือ
3. งานบริการ (Service Function)
รับผิดชอบการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ รวมทั้งจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศพร้อมสำหรับให้บริการ โดยมีเป้าหมายคือการจัดบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้และเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์และรวดเร็ว
งานบริการสารสนเทศสามารถแบ่งย่อยการบริการได้ เช่น การยืม – คืนหนังสือ การจองหนังสือ บริการตอบคำถาม บริการสาระสังเขปและดรรชนี บริการสารสนเทศทันสมัย บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล บริการรวบรวมบรรณานุกรม บริการชี้แนะแหล่งสารสนเทศ บริการยืมระหว่างสถาบันบริการสารสนเทศ บริการจัดส่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลต่างๆ และบริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดังนั้น งานห้องสมุดในแต่ละห้องสมุดนั้นอาจจะมีกระบวนการทำงานหรือแผนกย่อยๆ ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ขนาด ผู้ใช้หรือประเภทของห้องสมุดแต่ละแห่งว่ามีวัตถุประสงค์ในการให้บริการอย่างไร นอกจากนั้นยังอาจแตกต่างกันด้วยตามนโยบาย งบประมาณและความต้องการของผู้ใช้
งานบริการห้องสมุด
งานบริการห้องสมุด คืองานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในด้านการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้และส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และตรงตามความต้องการมากที่สุด รวมถึงการจัดบรรยากาศที่ดี เป็นระเบียบ ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและประทับใจเมื่อเข้าใช้บริการ
ความสำคัญของการบริการห้องสมุด
1. เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด การติดต่อสัมพันธ์กับผู้ใช้ห้องสมุดจำนวนมาก สามารถสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ห้องสมุดและสร้างความนิยมจากผู้ใช้บริการได้
2. ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่และคุ้มค่า
3. ด้านเศรษฐกิจ ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อเพราะผู้ใช้สามารถนำเงินที่จัดซื้อหนังสือ วารสาร เพื่อพัฒนาความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างเต็มที
4. ด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมประเพณีและเอกลักษณ์ของสังคม ทำนุบำรุงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้
5. การเมืองและการปกครอง ส่งเสริมระบอบการเมืองและการปกครอง โดยการให้บริการห้องสมุดแก่ประชาชน เพื่อให้มีความรู้ สติปัญญา มีความก้าวหน้าในวิชาชีพของบุคคล เมื่อประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับระบอบการเมืองและการปกครอง จะช่วยสนับสนุนการปกครองและประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรือง
ดังนั้น การบริการห้องสมุด คือหัวใจสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ ในการสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ประเภทงานบริการห้องสมุด
1. บริการพื้นฐาน เป็นบริการพื้นฐานที่ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะได้รับการเข้าใช้จากสถาบันบริการสารนิเทศ รูปแบบของการให้บริการจะขึ้นอยู่กับนโยบายและวัตถุประสงค์ของห้องสมุด ประกอบด้วย
1.1.1 บริการผู้อ่าน (Reader Services) การบริการที่ห้องสมุดจะจัดหาและคัดเลือกหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ จัดเตรียมสถานที่อำนวยความสะดวกต่อการอ่าน เพื่อตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้ใช้บริการ
1.1.2 บริการยืม – คืน (Circulation Services) การบริการให้ยืม – คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ตามระเบียบการยืมของสถาบัน รวมถึงการบริการตรวจสอบและบริการจอง (Inventory and Hold Services) และบริการหนังสือสำรอง (Reserve Service)
2. บริการอ้างอิงและสารสนเทศ (Reference and Information Services) ประกอบไปด้วยลักษณะงาน 3 กลุ่มคือ
1.2.1 บริการสารสนเทศ (Information services) ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า การบริการสารสนเทศประกอบไปด้วย เช่น
- บริการยืมระหว่างห้องสมุด
- บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service - DD)
- บริการทำสำเนา (Copies Service)
- บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service - CAS)
- บริการตอบคำถาม (Replies to Inquiries Services)
- บริการจัดทำดรรชนีและสาระสังเขป (Indexing and Abstracting Services)
- บริการรวบรวมบรรณานุกรม (Bibliographical Services)
- บริการการแปล (Translation Service)
- บริการค้นสารสนเทศออนไลน์ (Online Information Retrieval Services)
- บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service-ILL)
- บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service-DD)
- บริการชี้แนะแหล่งข้อมูล (Referral Service หรือ Information and Referral Service-I&R)
1.2.2 บริการสอนการใช้ (Instruction services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้ใช้รู้สารสนเทศ (information literacy skills)
- บริการสอน/แนะนำเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction) ในการค้นคว้าหรือแนะนำการอ่าน
- ให้บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction) เช่นการนำชมห้องสมุด การสอนการใช้เครื่องมือการค้นคว้า
1.2.3 บริการแนะนำ (Guidance services) การแนะนำให้ผู้ใช้เข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวกและสามารถชี้แนะแหล่งสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว เช่น
- บริการแนะนำการอ่าน (Readers’ Advisory Services)
- บริการการอ่านบำบัด (Bibliotherapy)
- บริการปรึกษาแนะนำทำรายงาน (Term-Paper Counseling)
- บริการแนะนำและช่วยการวิจัย (Research Assistance and Consulting)
3. บริการเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ วัยรุ่น เด็ก เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น