วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันที่ 26 มิถุนายน - บริการยืม-คืน/จ่าย-รับ (Circulation Service)

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ 

ในวันที่ 26 มิถุนายน 2554

ที่มารูปภาพ: หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ 

ในวันที่ 26 มิถุนายน 2554

บริการยืม - คืน/จ่าย - รับ ( Circulation Service )
(OA=Open Access คือ การเข้าถึงแบบเปิด)
เป้าหมายหลัก
เป้าหมายหลัก
                -  การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
                    หลักการก็คือรังกานาธาน (ปกิณกะ:รังกานาธานและปรัชญาวิชาชีพบรรณารักษ์)
           1.  หนังสือมีไว้ใช้ประโยชน์ (Books are for use) หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดจะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่ว่าจะ 
                เป็นการให้ความรู้ ความคิด ความจรรโลงใจ หรือความบันเทิง                                     
  2.  ผู้อ่านแต่ละคนมีหนังสือที่ตนจะอ่าน (Every reader his book) ห้องสมุดจะต้องพยายามจัดหาหนังสือ ให้ตรง     กับความต้องการของผู้ใช้บริการ
   3.  หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน (Every books its reader) ห้องสมุดจะต้องพยาามช่วยให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดได้มีผู้อ่านเพื่อให้เกิดประโยขน์สูงสุด
  4.  ประหยัดเวลาของผู้อ่าน (Save the time of the reader) พยายามหาวิธีต่างๆ ที่จะช่วยผู็ใช้พบกับหนังสือเล่มที่  ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
  5.  ห้องสมุดเป็นสิ่งเจริญเติบโตได้(Library is Growing organism) หรือห้องสมุดเป็นสิ่งมีชีวิต ห้องสมุดจะต้องพยายามจัดหาหนังสือและวัสดุเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ
http://www.gotoknow.org/blog/library-librarian/256597  30 มิถุนายน 2554
นำไปศึกษาค้นคว้านอกสถานที่ได้
ปรัชญาของการบริการ ยืม คืน
        -  ให้ความเท่าเทียมกันและเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด (Guarantee equal and fair to the library collection) คือเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงในสิ่ง ที่ตัวเองต้องการโดยทั่วกันได้ เช่นบริการจอง บริการหนังสือสำรอง บริการยืมต่อ รวมไปถึงค่าปรับด้วย
                -  กำหนดนโยบายและระเบียบโดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด (Therefore, libraries determine circulation policies and routines with the goal providing maximum access to the materials) ให้คนสามารถเข้าถึงทรั พยากรสารสนเทศให้มากที่สุด ขั้นตอนวิธีการ การดำเนนินงานต่างๆ บรรณารักษ์ต้องคอยติดตามความรู้ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อทำให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศมากขึ้น
บทบาทหน้าที่ของบริการยืม คืน
                 ควบคุมการยืม – คืน  เป็นบริการพื้นฐานที่ต้องมีในห้องสมุดสมัยใหม่ สืบเนื่องมาจากภารกิจของห้องสมุดรวมทั้งเป้าหมายขององค์กร สิทธิความเท่าเทียม และตอบสนองความต้องการสารสนเทศได้ (Librarians access: We provide timely, convenience, equal access to materials   )
                การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด คือ จุดแรกที่มองเห็น การมาติดต่ออย่างมากในห้องสมุด ความประทับใจ การให้ความช่วยเหลือ และการบริการที่ได้รับจึงมีผลกระทบต่อผู้มาใช้บริการ ซึ่งบริการนี้อาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการห้องสมุด (Its role in influencing the user opinion regarding the quality of the library service)
กระประชาสัมพันธ์
                -  จุดที่มีการบริการทั้งหมด ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ (Almost every transaction a library is an act of customer  relations)
                -  ผู้ใช้คาดหวังกับเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในทุกๆเรื่อง (Patrons expect library  staff to knew everything)
สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่พอใจ
                -  ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการได้
                -  ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดการส่ง หรือแจ้งเตือนการส่งเข้า
                -  ระยะเวลาในการยืมสั้น
                -  การจำกัดครั้งในการยืม
                -  ค่าปรับ
                -  เสียงรบกวน
                -  ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษณ์
                -  ร้อนหรือเย็นเกินไป
                -  เครื่องสำเนาเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ใช้งานไม่ได้
                -  กลิ่นไม่พึงประสงค์ กลิ่นอับชื้นเช่น เชื้อราจากหนังสือ พรมที่อับชื้น
การจัดการระบบห้องสมุด
                -  ห้องสมุดขนาดเล็ก บรรณารักษ์ทำหน้าที่ดูแลงานเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบาย ขั้นตอนการดำเนินงาน กฎระเบียบ และแนะนำดูแลการทำงานเจ้าหน้าที่ 
                -  ห้องสมุดขนาดใหญ่ มีหัวหน้าแผนกดูแลบรรณารักษณ์ โดยบรรณารักษ์ดูแลงานด้านการจัดการ
                -  ห้องสมุดขนาดใหญ่มาก จะมีหัวหน้าดูแลภายใต้การควบคุมของผู้ช่วยบรรณารักษ์และหัวหน้าบรรณารักษ์ที่ทำหน้าที่ดูแล
ความรู้และทักษะที่ต้องการ
                -  มีใจรักในงานบริการ มีความอดทนสูง
                -  มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ
                -  มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล OPAC
                -  มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
                -  มีมนุษยสัมพันธ์ดี
เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในงานบริการยืม-คืน
1.เทคโนโลยีรหัสแถบ ( Bar code )
                เป็นการกำหนดรหัสในรูปแบบสีขาวและสีดำ ที่มีความแตกต่างด้านความกว้างแทนตัวเลขและตัวอักษร
Barcode Label

                ที่มา http://www.tigerrlabel.com/rolls/bar_product_1.php

2. คิวอาร์โค้ด (QR code,2D Bar code)
     
            เป็นเทคโนโลยีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างรหัสบาร์โค้ด และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี สำหรับใช้ในการยืม-คืนหนังสือ โดยการนำมาใช้ต้องจัดทำบาร์โค้ด 2 มิติ 2 ดวง มีลักษณะเด่นที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการผลิต เพราะสามารถผลิตจากกระบวนการทำรายการห้องสมุดและพิมพ์ออกมาทำการติดที่ตัวเล่มหนังสือได้ทันที
            ซึ่ง QR code สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4,000 ตัวอักษร บรรจุข้อมูลได้หลากหลายภาษา และในปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ใช้กับการบริการห้องสมุดไว้หลายๆแห่ง เช่น บริการยืม-คืน บริการหนังสือใหม่ การจัดทำข้อมูล CIP ของหนังสือ เป็นต้น อนาคตในการกำหนดบาร์โค้ด 2 มิติ ให้กับสำนักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์หนังสือที่ยืนความจำนงในการขอรับเลข ISBN
QRCODE.JPG

               ที่มา http://wiki.nectec.or.th/bu/ITM532Students_2008/KatReport

3.  เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identify)


           เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ เพื่อระบุอัตลักษณ์ของวัตถุหรือเจ้าของวัตถุที่ติดป้ายอาร์เอฟไอดีแทนการระบุด้วยวิธีอื่น จุดเด่นของอาร์เอฟไอดี สามารถอ่านข้อมูลจากแท็กได้หลายๆแท็กแบบไม่ต้องมีการสัมผัส ข้อดี สามารถบ่งชี้หรืออ่านข้อมูลได้ โดยวัสดุนั้นไม่ต้องอยู่ในแนวระดับที่มองเห็น ซึ่งอ่านข้อมูลผ่านสิ่งกีดขวางหรือผ่านวัตถุได้รวดเร็วและการอ่านข้อมูลจะอ่านที่อยู่ในรัศมีการอ่านได้ครั้งเดียว ในที่นี้ห้องสมุดแห่งแรกที่ติดตั้งระบบเทคโนโลยี RFID คือ ห้องสมุดของ Rockefeller University in New York ส่วนห้องสมุดประชาชนแห่งแรกที่นำเทคโนโลยี RFID มาใช้ คือ Farmington Community Library ในรัฐมิชิแกน



วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันที่ 19 มิถุนายน - บริการห้องสมุด



สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ 

ในวันที่ 19 มิถุนายน 2554

บริการห้องสมุด
งานห้องสมุด
                     งานห้องสมุด สามารถจัดแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ งานบริหาร (Administration Function) งานเทคนิค (Technical Function) และงานบริการ (Service Function) ซึ่งงานแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้
                1. งานบริหาร (Administration Function)
                     การกระทำกิจกรรมใดๆ ในงานของห้องสมุดให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ โดยมีการกำหนดนโยบายและควบคุมดูแลการทำงานของห้องสมุด รวมถึงการเลือกหาหนังสือ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาไว้ในห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ดำเนินไปด้วยดี ตามกำลังของงบประมาณที่ได้จัดสรร
                2. งานเทคนิค (Technical Function)
                     การเตรียมงานบริการห้องสมุด มีหน่วยงานหลักๆ คือ หน่วยพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศที่มีการบันทึก และหน่วยงานวิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่ในการจัดระเบียบสารสนเทศเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย งานเทคนิคในห้องสมุดจะประกอบไปด้วย งานจัดหาและพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ  งานควบคุมวารสาร งานวิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายงานทรัพยากรสารสนเทศ และงานซ่อมและเย็บเล่มหนังสือ
                3. งานบริการ (Service Function)
                     รับผิดชอบการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ รวมทั้งจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศพร้อมสำหรับให้บริการ โดยมีเป้าหมายคือการจัดบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้และเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์และรวดเร็ว
                     งานบริการสารสนเทศสามารถแบ่งย่อยการบริการได้ เช่น การยืม คืนหนังสือ การจองหนังสือ บริการตอบคำถาม บริการสาระสังเขปและดรรชนี บริการสารสนเทศทันสมัย บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล บริการรวบรวมบรรณานุกรม บริการชี้แนะแหล่งสารสนเทศ บริการยืมระหว่างสถาบันบริการสารสนเทศ บริการจัดส่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลต่างๆ และบริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
                     ดังนั้น งานห้องสมุดในแต่ละห้องสมุดนั้นอาจจะมีกระบวนการทำงานหรือแผนกย่อยๆ ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ขนาด ผู้ใช้หรือประเภทของห้องสมุดแต่ละแห่งว่ามีวัตถุประสงค์ในการให้บริการอย่างไร นอกจากนั้นยังอาจแตกต่างกันด้วยตามนโยบาย งบประมาณและความต้องการของผู้ใช้

งานบริการห้องสมุด
                     งานบริการห้องสมุด คืองานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในด้านการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้และส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และตรงตามความต้องการมากที่สุด รวมถึงการจัดบรรยากาศที่ดี เป็นระเบียบ ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและประทับใจเมื่อเข้าใช้บริการ

ความสำคัญของการบริการห้องสมุด
                1. เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด การติดต่อสัมพันธ์กับผู้ใช้ห้องสมุดจำนวนมาก สามารถสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ห้องสมุดและสร้างความนิยมจากผู้ใช้บริการได้
                2. ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่และคุ้มค่า
                3. ด้านเศรษฐกิจ ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อเพราะผู้ใช้สามารถนำเงินที่จัดซื้อหนังสือ วารสาร เพื่อพัฒนาความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างเต็มที
                4. ด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมประเพณีและเอกลักษณ์ของสังคม ทำนุบำรุงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้
                5. การเมืองและการปกครอง ส่งเสริมระบอบการเมืองและการปกครอง โดยการให้บริการห้องสมุดแก่ประชาชน เพื่อให้มีความรู้ สติปัญญา มีความก้าวหน้าในวิชาชีพของบุคคล เมื่อประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับระบอบการเมืองและการปกครอง จะช่วยสนับสนุนการปกครองและประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรือง
                     ดังนั้น การบริการห้องสมุด คือหัวใจสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ ในการสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

ประเภทงานบริการห้องสมุด
                1. บริการพื้นฐาน เป็นบริการพื้นฐานที่ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะได้รับการเข้าใช้จากสถาบันบริการสารนิเทศ รูปแบบของการให้บริการจะขึ้นอยู่กับนโยบายและวัตถุประสงค์ของห้องสมุด ประกอบด้วย
                      1.1.1   บริการผู้อ่าน (Reader Services) การบริการที่ห้องสมุดจะจัดหาและคัดเลือกหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ จัดเตรียมสถานที่อำนวยความสะดวกต่อการอ่าน เพื่อตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้ใช้บริการ
                      1.1.2   บริการยืม คืน (Circulation Services) การบริการให้ยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ตามระเบียบการยืมของสถาบัน รวมถึงการบริการตรวจสอบและบริการจอง (Inventory and Hold Services) และบริการหนังสือสำรอง (Reserve Service)
                2. บริการอ้างอิงและสารสนเทศ (Reference and Information Services) ประกอบไปด้วยลักษณะงาน 3 กลุ่มคือ
                      1.2.1   บริการสารสนเทศ (Information services) ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า การบริการสารสนเทศประกอบไปด้วย เช่น
                                   -     บริการยืมระหว่างห้องสมุด
                                   -     บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service - DD)
                                   -     บริการทำสำเนา (Copies Service)
                                   -     บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service - CAS)
                                   -     บริการตอบคำถาม (Replies to Inquiries Services)
                                   -     บริการจัดทำดรรชนีและสาระสังเขป (Indexing and Abstracting Services)
                                   -     บริการรวบรวมบรรณานุกรม (Bibliographical Services)
                                   -     บริการการแปล (Translation Service)
                                   -     บริการค้นสารสนเทศออนไลน์ (Online Information Retrieval Services)
                                   -     บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service-ILL)
                                   -     บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service-DD)
                                   -     บริการชี้แนะแหล่งข้อมูล (Referral Service หรือ Information and Referral Service-I&R)
                       1.2.2   บริการสอนการใช้ (Instruction services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้ใช้รู้สารสนเทศ (information literacy skills)
                                   -     บริการสอน/แนะนำเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction) ในการค้นคว้าหรือแนะนำการอ่าน
                                   -     ให้บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction) เช่นการนำชมห้องสมุด การสอนการใช้เครื่องมือการค้นคว้า
                      1.2.3   บริการแนะนำ (Guidance services) การแนะนำให้ผู้ใช้เข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวกและสามารถชี้แนะแหล่งสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว เช่น
                                   -     บริการแนะนำการอ่าน (Readers’ Advisory Services)
                                   -     บริการการอ่านบำบัด (Bibliotherapy)
                                   -     บริการปรึกษาแนะนำทำรายงาน (Term-Paper Counseling)
                                   -     บริการแนะนำและช่วยการวิจัย (Research Assistance and Consulting) 
                3. บริการเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ วัยรุ่น เด็ก เป็นต้น


วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันที่ 12 มิถุนายน - การบริการ

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ 

ในวันที่ 12 มิถุนายน 2554

ความหมายของการบริการ
        การบริการคืองานที่ไม่สามารถกำหนดความต้องการได้ เพราะผู้ใช้บริการแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน และการบริการทีดีนั้นต้องให้ความสำคัญและช่วยเหลือผู้มาใช้บริการด้วยความเป็นมิตรและให้ความเอาใจใส่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความรู้สึกสะดวกสบายและพึงพอใจมากที่สุด เนื่องจากการบริการที่ดีนั้นส่งผลไปสู่ภาพลักษณ์ขององค์กรในทางที่ดีและเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

สาเหตุที่การบริการเปลี่ยนไปก็คือ

  1. การย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าไปในเมือง
  2. รูปแบบการดำรงชีวิต
  3. การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของอายุประชากร
  4. การติดต่อสื่อสาร
  5. การใช้จ่าย
ประเภทธุรกิจบริการ
  1. การบริการเชิงธุรกิจ เป็นการบริการที่มุ่งแสวงหาผลกำไร ภาคเอกชน 
  2. การบริการสาธารณะ เป็นการบริการที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่นองค์กรการกุศลต่างๆ บริการห้องสมุด 
ลักษณะการบริการ
        บุคลากรคือส่วนสำคัญของการสร้างการบริการที่ดี หากเกิดการบริการที่บกพร่องขึ้นหรือผู้รับบริการไม่ได้รับการบริการที่ดีแค่เพียงเรื่องเดียวหรือแค่นิดเดียว ก็เกิดผลเสียให้กับองค์กรได้ทันทีและอย่างรวดเร็ว